วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559


กรุงศรี ออโต้ สร้าง 'สมาร์ท เอสเอ็มอี’ ผ่าน 'สมาร์ท ไฟแนนซ์’รุกให้ความรู้เทคโนโลยีรับ


        "กรุงศรี ออโต้" ผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ เครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จับ เทรนด์ยุคดิจิทัล เดินหน้าโครงการสัมมนา "กรุงศรี ออโต้ สมาร์ท ไฟแนนซ์" ในหัวข้อใหม่ 'ติดอาวุธดิจิทัล Small SMEs' ให้ความรู้ในการทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เสริมศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อยสู่ "สมาร์ท เอสเอ็มอี" (Smart SMEs) เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถรับมือกับโอกาสและความท้าทายจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ขานรับนโยบาย 'ประเทศไทย 4.0' ของภาครัฐ โดยนำร่องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "กรุงศรี ออโต้ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending) ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR มากว่าสองทศวรรษ ซึ่งโครงการ 'กรุงศรี ออโต้ สมาร์ท ไฟแนนซ์' เป็นหนึ่งในโครงการ CSR หลัก ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 โดยหัวข้อการสัมมนาแต่ละครั้งจะออกแบบเนื้อหาให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายตลอดจนสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกว่า 3,000 คน ด้วยผลการตอบรับที่ดีมาก โดยกว่าร้อยละ 85 เห็นว่าโครงการกรุงศรี ออโต้ สมาร์ท ไฟแนนซ์ ไม่เพียงให้ความรู้ที่ตรงกับความต้องการแต่ช่วยสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่นำไปสู่การต่อยอดทางธุรกิจได้อีกด้วย"

          นายไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "สำหรับหัวข้อของการสัมมนากรุงศรี ออโต้ สมาร์ท ไฟแนนซ์ ในปีนี้ คือ 'ติดอาวุธดิจิทัล Small SMEs'เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Small SMEs มีความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจของตน ก้าวสู่การเป็น 'Smart SMEs' เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลไปจนถึงการซื้อของออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน ธุรกิจไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์นี้ อย่างไรก็ดียังมีผู้ประกอบการส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Small SMEs ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งมีความเสี่ยงจะล้มเหลวในธุรกิจ"

          "ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายประเทศไทย 4.0 ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สู่ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมให้ SMEs มุ่งสู่การเป็น Smart SMEs มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้นโยบายนี้บรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจาก SMEs เป็นหนึ่งในรากฐานและกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยจากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สกว.) ระบุว่ามี SMEs กว่า 2.74 ล้านราย และการจ้างงานกว่า 10.5 ล้านคน มีรายได้คิดเป็นร้อยละ 42 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ"

          ทั้งนี้ โครงการสัมมนากรุงศรี ออโต้ สมาร์ท ไฟแนนซ์ ในหัวข้อ 'ติดอาวุธดิจิทัล Small SMEs' จัดขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อให้ข้อมูล ความรู้ และจุดประกายความคิดในการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการรายย่อย รวมไปถึงผู้ที่สนใจอยากทำธุรกิจ ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ต่อยอดทางธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการรายย่อยที่ประสบความสำเร็จจากใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาทิ คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน และวางแผนธุรกิจ คุณสืบศักดิ์ ลิ่วลักษณ์ ที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ คุณสุรีรัตน์ ศรีพรหมคำ เจ้าของธุรกิจเจคิวปูม้านึ่ง เดลิเวอรี่ คุณมัทนี วงศ์ศิริ เจ้าของกิจการผ้าซิ่นฝ้ายมัดหมี่ By Mattanee และคุณเสกสรร เทิดสิริภัทร ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดผ่าน YouTube



อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/prg/2566152

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


เอสเอ็มอี’ แบงก์ตั้งเป้าปีหน้า สินเชื่อโต 8% เจาะสตาร์ทอัพ




เอสเอ็มอีแบงก์ตั้งเป้าสินเชื่อปีหน้าโต 8% เน้นพันธกิจพัฒนาผู้ประกอบการให้แข็งแกร่ง ส่งเสริมเอสเอ็มอีกลุ่มสตาร์ทอัพ-นวัตกรรม พร้อมหนุนใช้อีคอมเมิร์ซขายสินค้า เผยเตรียมความพร้อมออกจากแผนฟื้นฟูและใช้บาเซิล2 ตามเกณฑ์ธปท. 

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนงานในปี 2560 พร้อมกับกำหนดทิศทางการทำงานตามนโยบายแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เพื่อเสนอให้อนุกรรมการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)พิจารณาสำหรับแผนดำเนินงานเบื้องต้นในปี 2560 ธนาคารได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ประมาณ 8% หรือใกล้เคียงกับปีนี้ที่จะมีการปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารมุ่งเน้นด้านการพัฒนาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแข็งแรงขึ้น ส่งเสริมเอสเอ็มอีในกลุ่มสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรม พร้อมส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยี ไอที เข้าสู่ตลาดใหม่ๆ และใช้กลไกของตลาดอีคอมเมิร์ซในการทำการตลาดขายสินค้า




โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่: 21 พฤศจิกายน 2559, 09:18
เว็บไซต์: http://www.bangkokbiznews.com

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บสย.- KOTEC ประชุมเชิงปฏิบัติการ KSP เฟส 2




                        นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ให้การต้อนรับ Dr.Hyung-seung Yi Deputy Director, Internationnal Business Office Korea Technology Finance Corporation ( KOTEC ) และคณะทำงาน จากประเทศเกาหลีใต้ ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมประชุมโครงการ Knowledge Sharing Program (KSP) "การสนับสนุนการส่งเสริม SMEs ผ่านการค้ำประกันผู้ประกอบการกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมประเทศไทย" ปี 2559 ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการทดสอบ TTRS กับผู้ประกอบการจริงที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Pilot Testing) ระหว่างวันที่ 14 -18 พฤศจิกายน 2559 ณ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมสำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559


สำนักข่าว:ThaiPR.net

วัน:จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 16:39:15 น

เว็บไซต์ : http://www.ryt9.com/s/prg/2549829

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าปรับโครงสร้างกระทรวงฯ รองรับการพัฒนาสู่ Industry 4.0 และ SMEs 4.0

นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยความคืบหน้าการปรับโครงสร้างการทำงานภายในของกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของจัดทำรายละเอียดของการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ที่ทุกกระทรวงต้องดำเนินการ ซึ่งการปรับโครงสร้างของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผู้ประกอบการสู่ Industry 4.0  และ SMEs 4.0

"หลังจากที่รองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้มาให้ข้อเสนอแนะการปรับบทบาทกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อต้องการให้การทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยการใช้หลักการ 4 ข้อ คือ 1.รวดเร็วขึ้น (Faster) 2.เข้าถึงง่ายขึ้น (Easier) 3.ต้นทุนถูกลง (Cheaper) และ 4.เป็นหน่วยงานที่สง่างาม (Smart) โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้าสู่ Industry 4.0 การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) เข้าสู่ SMEs4.0 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมยังคงมีบทบาทในการพัฒนาตามหลัก 3 p 1 c คือ people (ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน) product (ผลิตภัณฑ์) process (กระบวนการผลิต) และ cluster (คลัสเตอร์) เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการยุด 4.0 พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้นวัตกรรม ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป อีกทั้งยังต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วัตถุดิบ เทคโนโลยี และการตลาด" โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวด้วยว่า กรณีที่มีข่าวว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะปรับบทบาทเป็นกระทรวงหลักในการดำเนินการของ SMEs เพียงหน่วยงานเดียวนั้น ข้อเท็จจริงคือกระทรวงอุตสาหกรรมยังยึดแนวทางในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยเฉพาะการพัฒนา SMEs และ OTOP นั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อพัฒนาในส่วนของบุคลากรในชุมชน ผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพและแข่งขันได้

สำหรับภาพรวมการปรับโครงสร้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ขณะนี้มีการตั้งคณะทำงานพิจารณา โดยมีนางอรรชกา ศรีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน  เพื่อทำกรอบโครงสร้างและรายละเอียดเสนอขอความเห็นชอบจากคณะผู้บริหารของกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป


หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2559 00:00:31 น.

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครม.อัดมาตรการเพิ่มช่วยอุ้มเอสเอ็มอี อนุมัติ 3 ยุทธศาสตร์เสริมพลังการแข่งขัน


อบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ฉบับที่ 4 (2560-2564) จะทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเอสเอ็มอีต่อจีดีพี ของประเทศเพิ่มจาก 42% เป็น 50%ในปี 2564 รวมทั้งยังทำให้เอสเอ็มอีสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 30% และมีมูลค่าการส่งออกรายละ100 ล้านบาทต่อปี ขณะที่คุณภาพแรงงานของเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น จนสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 600,000 บาท

ขณะเดียวกันเอสเอ็มอียังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ตั้งเป้าสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 38%และได้รับแหล่งเงินทุนประเภททุนเพิ่มขึ้น 20% ที่สำคัญยังทำให้รายได้เฉลี่ยของเอสเอ็มอีระดับล่างที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 20%แผนส่งเสริมเอสเอ็มอีจะครอบคลุมใน 3 ยุทธศาสตร์ ทั้งการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีให้เติบโตและมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น, ส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีแบบเฉพาะกลุ่ม โดยจะเร่งสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น 20%,ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลเอสเอ็มอี โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี รวมถึงกฎหมาย สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเอสเอ็มอีมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559


ธพว.ชูแนวคิด “SME-D” ปูวัฒนธรรมองค์กรสู่การพัฒนาที่แท้จริง


ธพว.ชูแนวคิด “SME-D” ปูวัฒนธรรมองค์กรสู่การพัฒนาที่แท้จริง

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) (ซ้ายสุด) พร้อมทีมผู้บริหาร


                   ธพว.ชูแนวคิด “SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมากสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง ปลูกฝังจรรยาบรรณพนักงานเป็นหลัก เตรียมรับนโยบาย SME 4.0 สนับสนุนผู้ประกอบการรอบด้านแบบทุกมิติ มั่นใจนำเทคโนโลยีปรับใช้ช่วยบรรลุเป้าหมายเร็วขึ้น

                    นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สร้างค่านิยมองค์กรใหม่ ภายใต้แนวคิด ประสานความร่วมมือ ยึดถือจรรยา ตอบโจทย์ คุ้มค่า พัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือ SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมาก Culture มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง

                    สำหรับค่านิยมใหม่ SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมาก Culture ประกอบด้วย S-Synergy ประสานความร่วมมือ ทำงานเป็นทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร M-Morality ยึดถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อให้ธนาคารมีการบริหารจัดการที่โปร่งใส และการกำกับดูแลกิจการที่ดี E-Efficiency ใช้งบประมาณในการบริหารจัดการตามภารกิจของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างคุ้มค่า D-Development พัฒนาตนเองและกระบวนการทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกด้าน

                    กรรมการผู้จัดการ ธพว.กล่าวอีกว่า การสร้างค่านิยมใหม่ขององค์กร SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมาก Culture ดังกล่าวเป็นแนวทางปลูกฝังให้พนักงานของธนาคารยึดถือปฏิบัติสร้างวัฒนธรรมองค์กร สะท้อนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ยึดถือธรรมาภิบาล สร้างแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบรรลุเป้าหมายก้าวสู่การเป็น SME Development Bank ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง โดยให้บริการผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการให้สินเชื่อ ร่วมลงทุน และการพัฒนาผู้ประกอบการตามบทบาทภารกิจของธนาคารและสอดรับนโยบายรัฐบาล มู่งสู่ SME 4.0 สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs รอบด้านทุกมิติ เพื่อพัฒนาเติบโตต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมมาช่วยในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี


บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี
              

                  นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พร้อมทีมผู้บริหาร ให้การตอบรับ Mr. Sung Jin KIM, หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ KSP (Knowledge Sharing Program) ระยะที่ 2 จากสถาบัน Korea Development Institute (KDI) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลยุทธ์และการเงิน ประเทศเกาหลีใต้ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้บริหารจากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ในโอกาสร่วมประชุมเพื่อเริ่มโครงการ KSP ปี 2559 อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมชั้น 18 บสย. สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559

                 โครงการ KSP เป็นโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาแนวทางการประเมินมูลค่าเทคโนโลยี และแนะนำรูปแบบโครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย บสย. เริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2558 และได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจากประเทศเกาหลีใต้ ในการพัฒนาเครื่องมือการประเมินเทคโนโลยี หรือ Thai Technology Rating System (TTRS) ซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ในอนาคต
                  
                  การดำเนินงานในปี 2558 บสย. ได้ร่วมมือกับ สวทช. และ Korea Exim Bank ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเกาหลีในการบริหารโครงการ KSP ปี 2558 โดยได้มอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาจาก Korea Small Business Institute (KOSBI) และ Korea Technology Finance Corporation (KOTEC) ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมการส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย และพัฒนาวิธีการประเมินเทคโนโลยี เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งจากผลการดำเนินงานในปี 2558 ทำให้ บสย. ได้วิธีการประเมินเทคโนโลยีในรูปแบบของปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินระดับของเทคโนโลยี

                  สำหรับเป้าหมายการดำเนินโครงการ KSP ระยะที่ 2 จะมุ่งปรับปรุงเครื่องมือการประเมินเทคโนโลยีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำผลการประเมินดังกล่าวมาประกอบการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิขย์สวทช. ฯลฯ ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
 




บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี

บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี



วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

EXIM BANK คลอดสินเชื่อใหม่ ชูดอกต่ำปล่อยเร็ว หนุน SMEs ส่งออกปลายปี

        EXIM BANK เปิดตัวสินเชื่อใหม่ ชื่อ “สินเชื่อส่งออกทันใจ” ชูหนุนเป็นทุนหมุนเวียนในช่วงก่อนและหลังรับออเดอร์ปลายปี ระบุอัตราดอกเบี้ยต่ำ 3.5% ต่อปี ใช้เพียงบุคคลค้ำประกัน อนุมัติเร็วด่วนใน 7 วัน วงเงินสูงสุด 500,000 บาท
       
       นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ผู้ส่งออกไทยจะได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคและของขวัญในช่วงเทศกาลตั้งแต่ปลายปีจนถึงต้นปีหน้า EXIM BANK จึงได้ออกบริการสินเชื่อสนับสนุนให้ผู้ส่งออกไทยให้มีเงินทุนหมุนเวียนในช่วงก่อนและหลังการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เรียกว่า “สินเชื่อส่งออกทันใจ” (EXIM Instant Credit) เป็นสินเชื่อหมุนเวียนระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน พร้อมบริการรับซื้อตั๋วส่งออก อัตราดอกเบี้ยต่ำ 3.5% ต่อปี ใช้เพียงบุคคลค้ำประกัน อนุมัติเร็วภายใน 7 วันทำการ และมีวงเงินสูงสุด 500,000 บาทต่อราย
       
       กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เผยต่อว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs ภาคส่งออก ประมาณ 24,000 ราย หรือประมาณ 10% ของผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งหมด โดยขณะนี้ผู้ส่งออกยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอก เช่น การขาดสภาพคล่อง เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น EXIM BANK จึงมีนโยบายพัฒนาบริการที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs ของไทยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน มีความพร้อมในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น
       
       “สินเชื่อส่งออกทันใจเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบและขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกไทยในไตรมาสสุดท้าย โดยเน้นความรวดเร็วและความสะดวกในการเข้าถึงบริการของ SMEs” 




                                                                                    เว็บไซต์: http://www.manager.co.th
วันที่: 3 ตุลาคม 2559
เวลา: 14.54 น.
  








วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

แบงก์แห่เอาใจเอสเอ็มอีรายเล็ก


ทหารไทย-กสิกรไทยเอาใจเอสเอ็มอีรายเล็ก ทหารไทยออกสินเชื่อ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่า พร้อมเพิ่มตั้งเป้าสิ้นปี 3,000 ล้านบาท


ด้านกสิกรไทยออกแพ็คเกจ จิ๋วโตไวหนุนธุรกิจไซส์เล็กเข้าถึงเงินทุน ตั้งเป้าสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท


นายไตรรงค์  บุตรากาศ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไย เปิดเผยว่า จากการทำสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการขนาดเล็กพบว่า เมื่อธุรกิจเริ่มเติบโตขึ้นจะต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม และต้องใช้หลักประกันเพิ่มในการขอวงเงิน  แต่เอสเอ็มอีขนาดเล็กมีหลักประกันที่จำกัด ดังนั้นธนาคารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อให้ครอบคลุมโดยได้ออก สินเชื่อ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่า พร้อมเพิ่มเพื่อปลดล็อคอุปสรรคด้านหลักประกันของเอสเอ็มอีขนาดเล็ก โดยใช้หลักเกณฑ์ของ พรบ.หลักประกันทางธุรกิจเช่นกัน  ได้แก่ ลูกหนี้การค้า สต็อกสินค้า เครื่องจักร มาจดทะเบียนเป็นหลักประกันกับธนาคาร  ทำให้ได้วงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นทันที เมื่อรวมกับวงเงินสูงสุด 3 เท่าของมูลค่าหลักประกันเดิมก็จะทำให้เอสเอ็มอีขนาดเล็กได้รับโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น โดยตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าเพิ่มอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้
สำหรับยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท หลังจากช่วง 7 เดือนแรกทำได้แล้ว 14,000-15,000 ล้านบาท ทำให้พอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 200,000 ล้านบาท

ด้านนายบุนชาน กุลวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการขนาดเล็กในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 1.7 ล้านราย แต่มีเพียงส่วนน้อยมากที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินได้    ล่าสุดธนาคารได้ออกแพ็คเกจ จิ๋วโตไวซึ่งเป็นโครงการพิเศษสำหรับลูกค้าผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มียอดขายไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปีที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องหรือขยายธุรกิจในช่วงนี้ โดยธนาคารจะให้การสนับสนุนสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท ผ่อนชำระนานถึง 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อไว้ 200 ล้านบาท จากยอดวงเงินปล่อยกู้รวมทั้งปีนี้ 7,000 ล้านบาท





โดย : 

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ออมสินปล่อยกู้ซอฟต์โลน 30,000 ล้านบาท ฟื้นธุรกิจ-เครื่องจักร

ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำให้ SMEs ปรับปรุงเครื่องจักร ลงทุนในธุรกิจเพื่อภาคการผลิตที่ดีขึ้น ย้ำห้ามนำเงินรีไฟแนนซ์หนี้เดิม พร้อมกระจายสินเชื่ออีก 18 สถาบันการเงินเสริมแกร่งธุรกิจ ชูอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.1% คาดช่วย SMEs ได้อีก 2,000 ราย
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วงเงิน 30,000 ล้านบาท ว่า การปล่อยสินเชื่อครั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้นำไปใช้ในการลงทุน หรือต่อเติมเปลี่ยนแปลงให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับกิจการมีศักยภาพดีขึ้น และต้องเป็นทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร ส่วนประกอบอุปกรณ์ เครื่องมือ หรืออาคารถาวรเพื่อใช้เป็นที่ตั้งเครื่องจักร โดยไม่รวมที่ดินและอาคารที่ใช้เป็นที่อาศัย
ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้ปล่อยกู้ผ่านสถาบันการเงินทั้งหมด 18 แห่ง ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อปี เพื่อให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกู้ต่อในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปีระยะเวลากู้ 7 ปี ไม่จำกัดวงเงินและมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยประมาณ 1 ปี และห้ามเป็นการกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้เดิม ซึ่งเอสเอ็มอีที่จะกู้นั้นต้องเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศ มีบุคคลสัญชาติไทย ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะเปิดให้ผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2559 หรือจนกว่าวงเงินจะหมด และผู้กู้ต้องเบิกนำไปใช้ให้ครบภายใน 30 มิถุนายน 2560 ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ประมาณ 2,000 ราย ซึ่งการปล่อยสินเชื่อครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอีระยะที่ 3 โดยก่อนหน้านี้มีการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยเอสเอ็มอีไปแล้วรวม 150,000 ล้านบาท สามารถช่วยเอสเอ็มอีได้กว่า 30,000 ราย

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปีนี้แสนล้านบาท-เกาะติดลูกค้ามนุษย์เงินเดือน

     นางธีรนุช ขุมทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลของการลงประชามติ ที่เสียงส่วนใหญ่รับร่างรัฐธรรมนูญ และหากส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ธนาคารก็จะจัดทำโครงการ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวทันที ส่วนการปล่อยสินเชื่อรายย่อยในครึ่งปีแรก สินเชื่อบ้านมีอัตราเติบโต 7% มียอดสินเชื่อคงค้าง 98,000 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้สินเชื่อบ้านของธนาคาร จะเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก หรือมียอดสินเชื่อคงค้างสูง 100,000 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตปัจจุบันมีพอร์ตสินเชื่ออยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีรายเล็กๆ ที่มีจำนวนสินเชื่อที่ไม่มาก ปีนี้จะเติบโต 3-5%

SME Bank เปิดตัวสินเชื่อ Soft Loan3 ในกทม.-ปริมณฑล หนุน SMEs เปลี่ยนเครื่องจักรรุกธุรกิจโต

     นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) หรือ ธพว. เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดตัวโครงการสินเชื่อ Soft Loan3 ดอกเบี้ยต่ำ 4% เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล. สำหรับสินเชื่อ Soft Loan3 นี้มีเงื่อนไขสุดพิเศษ วงเงินกู้สูงได้ถึง 90% ของใบสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่ ดอกเบี้ยต่ำเพียง 4% ต่อปีตลอดอายุสัญญา กู้สูงสุดถึง 7 ปี ไม่ต้องจ่ายเงินต้นนาน 12 เดือน กู้ได้สูงสุดถึง 15 ล้านบาท และหากกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่ต้องประเมินราคาและไม่ต้องจดจำนองเครื่องจักร สามารถใช้ บสย.ค้ำประกันร่วมกับการจดแจ้งหลักประกันตาม พ.ร.บ.หลักประกันธุรกิจได้ธนาคารยังได้นำผลิตภัณฑ์สินเชื่ออีกหลากหลายประเภท เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการขยายหรือ ปรับปรุงกิจการ เช่น สินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว สนับสนุนผู้ประกอบการที่จดแจ้งบัญชีเดียวตามนโยบายรัฐบาล, สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Policy Loan สนับสนุนผู้ประกอบการใหม่ที่ทำธุรกิจไม่เกิน 3 ปีและมีนวัตกรรม หรือผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจขยายตลาดไปสู่ AEC โดยภายในงานธนาคารได้เปิดบูธรับคำขอกู้และให้บริการปรึกษาแนะนำ และมีบริการตรวจข้อมูลเครดิตบูโรฟรี, บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้คำปรึกษาเรื่องการค้ำประกัน รวมถึงธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ให้บริการสินเชื่อด้านการส่งออกเพื่อ SMEs ด้วย