วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครม.อัดมาตรการเพิ่มช่วยอุ้มเอสเอ็มอี อนุมัติ 3 ยุทธศาสตร์เสริมพลังการแข่งขัน


อบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ฉบับที่ 4 (2560-2564) จะทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเอสเอ็มอีต่อจีดีพี ของประเทศเพิ่มจาก 42% เป็น 50%ในปี 2564 รวมทั้งยังทำให้เอสเอ็มอีสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 30% และมีมูลค่าการส่งออกรายละ100 ล้านบาทต่อปี ขณะที่คุณภาพแรงงานของเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น จนสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 600,000 บาท

ขณะเดียวกันเอสเอ็มอียังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ตั้งเป้าสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 38%และได้รับแหล่งเงินทุนประเภททุนเพิ่มขึ้น 20% ที่สำคัญยังทำให้รายได้เฉลี่ยของเอสเอ็มอีระดับล่างที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 20%แผนส่งเสริมเอสเอ็มอีจะครอบคลุมใน 3 ยุทธศาสตร์ ทั้งการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีให้เติบโตและมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น, ส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีแบบเฉพาะกลุ่ม โดยจะเร่งสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น 20%,ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลเอสเอ็มอี โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี รวมถึงกฎหมาย สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเอสเอ็มอีมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559


ธพว.ชูแนวคิด “SME-D” ปูวัฒนธรรมองค์กรสู่การพัฒนาที่แท้จริง


ธพว.ชูแนวคิด “SME-D” ปูวัฒนธรรมองค์กรสู่การพัฒนาที่แท้จริง

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) (ซ้ายสุด) พร้อมทีมผู้บริหาร


                   ธพว.ชูแนวคิด “SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมากสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง ปลูกฝังจรรยาบรรณพนักงานเป็นหลัก เตรียมรับนโยบาย SME 4.0 สนับสนุนผู้ประกอบการรอบด้านแบบทุกมิติ มั่นใจนำเทคโนโลยีปรับใช้ช่วยบรรลุเป้าหมายเร็วขึ้น

                    นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สร้างค่านิยมองค์กรใหม่ ภายใต้แนวคิด ประสานความร่วมมือ ยึดถือจรรยา ตอบโจทย์ คุ้มค่า พัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือ SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมาก Culture มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง

                    สำหรับค่านิยมใหม่ SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมาก Culture ประกอบด้วย S-Synergy ประสานความร่วมมือ ทำงานเป็นทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร M-Morality ยึดถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อให้ธนาคารมีการบริหารจัดการที่โปร่งใส และการกำกับดูแลกิจการที่ดี E-Efficiency ใช้งบประมาณในการบริหารจัดการตามภารกิจของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างคุ้มค่า D-Development พัฒนาตนเองและกระบวนการทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกด้าน

                    กรรมการผู้จัดการ ธพว.กล่าวอีกว่า การสร้างค่านิยมใหม่ขององค์กร SME-D เอสเอ็มอี ดีมากมาก Culture ดังกล่าวเป็นแนวทางปลูกฝังให้พนักงานของธนาคารยึดถือปฏิบัติสร้างวัฒนธรรมองค์กร สะท้อนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ยึดถือธรรมาภิบาล สร้างแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบรรลุเป้าหมายก้าวสู่การเป็น SME Development Bank ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง โดยให้บริการผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการให้สินเชื่อ ร่วมลงทุน และการพัฒนาผู้ประกอบการตามบทบาทภารกิจของธนาคารและสอดรับนโยบายรัฐบาล มู่งสู่ SME 4.0 สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs รอบด้านทุกมิติ เพื่อพัฒนาเติบโตต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมมาช่วยในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี


บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี
              

                  นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พร้อมทีมผู้บริหาร ให้การตอบรับ Mr. Sung Jin KIM, หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ KSP (Knowledge Sharing Program) ระยะที่ 2 จากสถาบัน Korea Development Institute (KDI) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลยุทธ์และการเงิน ประเทศเกาหลีใต้ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้บริหารจากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ในโอกาสร่วมประชุมเพื่อเริ่มโครงการ KSP ปี 2559 อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมชั้น 18 บสย. สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559

                 โครงการ KSP เป็นโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาแนวทางการประเมินมูลค่าเทคโนโลยี และแนะนำรูปแบบโครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย บสย. เริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2558 และได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจากประเทศเกาหลีใต้ ในการพัฒนาเครื่องมือการประเมินเทคโนโลยี หรือ Thai Technology Rating System (TTRS) ซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ในอนาคต
                  
                  การดำเนินงานในปี 2558 บสย. ได้ร่วมมือกับ สวทช. และ Korea Exim Bank ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเกาหลีในการบริหารโครงการ KSP ปี 2558 โดยได้มอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาจาก Korea Small Business Institute (KOSBI) และ Korea Technology Finance Corporation (KOTEC) ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมการส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย และพัฒนาวิธีการประเมินเทคโนโลยี เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งจากผลการดำเนินงานในปี 2558 ทำให้ บสย. ได้วิธีการประเมินเทคโนโลยีในรูปแบบของปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินระดับของเทคโนโลยี

                  สำหรับเป้าหมายการดำเนินโครงการ KSP ระยะที่ 2 จะมุ่งปรับปรุงเครื่องมือการประเมินเทคโนโลยีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำผลการประเมินดังกล่าวมาประกอบการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิขย์สวทช. ฯลฯ ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
 




บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี

บสย. – เกาหลี จับมือพัฒนาโครงการ KSP เฟส 2 หนุน SMEs นวัตกรรม-เทคโนโลยี



วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

EXIM BANK คลอดสินเชื่อใหม่ ชูดอกต่ำปล่อยเร็ว หนุน SMEs ส่งออกปลายปี

        EXIM BANK เปิดตัวสินเชื่อใหม่ ชื่อ “สินเชื่อส่งออกทันใจ” ชูหนุนเป็นทุนหมุนเวียนในช่วงก่อนและหลังรับออเดอร์ปลายปี ระบุอัตราดอกเบี้ยต่ำ 3.5% ต่อปี ใช้เพียงบุคคลค้ำประกัน อนุมัติเร็วด่วนใน 7 วัน วงเงินสูงสุด 500,000 บาท
       
       นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ผู้ส่งออกไทยจะได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคและของขวัญในช่วงเทศกาลตั้งแต่ปลายปีจนถึงต้นปีหน้า EXIM BANK จึงได้ออกบริการสินเชื่อสนับสนุนให้ผู้ส่งออกไทยให้มีเงินทุนหมุนเวียนในช่วงก่อนและหลังการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เรียกว่า “สินเชื่อส่งออกทันใจ” (EXIM Instant Credit) เป็นสินเชื่อหมุนเวียนระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน พร้อมบริการรับซื้อตั๋วส่งออก อัตราดอกเบี้ยต่ำ 3.5% ต่อปี ใช้เพียงบุคคลค้ำประกัน อนุมัติเร็วภายใน 7 วันทำการ และมีวงเงินสูงสุด 500,000 บาทต่อราย
       
       กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เผยต่อว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs ภาคส่งออก ประมาณ 24,000 ราย หรือประมาณ 10% ของผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งหมด โดยขณะนี้ผู้ส่งออกยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอก เช่น การขาดสภาพคล่อง เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น EXIM BANK จึงมีนโยบายพัฒนาบริการที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs ของไทยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน มีความพร้อมในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น
       
       “สินเชื่อส่งออกทันใจเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบและขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกไทยในไตรมาสสุดท้าย โดยเน้นความรวดเร็วและความสะดวกในการเข้าถึงบริการของ SMEs” 




                                                                                    เว็บไซต์: http://www.manager.co.th
วันที่: 3 ตุลาคม 2559
เวลา: 14.54 น.